Pages

Sunday, May 25, 2014

6. การเลือกหุ้นเพื่อลงทุนวิธี DSM


คุณสมบัติของหุ้นที่จะเลือกลงทุนด้วยวิธี DSM

1. ต้องเป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผล โดยดูจากประวัติย้อนหลังของบริษัทหลาย ๆ ปี 

2. ต้องเป็นหุ้นที่มีคนนิยม และมีจำนวนหุ้นซื้อขายในตลาดมากพอสมควร เพราะเราจะสร้างหุ้นเพิ่มจากส่วนต่างของราคา จากการแกว่งตัวของราคาจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นตัวนั้นเป็นที่นิยม ให้ดูมูลค่าการซื้อขายมาก แสดงว่าหุ้นตัวนั้นได้รับความนิยมมาก

3. ต้องเป็นหุ้นแก่นหลักของเศรษฐกิจของประเทศ ประเภทว่าถ้าหุ้นตัวนี้แย่หรือล้มหายจากตลาด หุ้นตัวอื่นๆก็คงโดนฝังหรือออกจากตลาดไปก่อนหน้านี้แล้ว

4. ต้องเป็นบริษัทที่คุณอยากร่วมเป็นเจ้าของกิจการ

การที่จะหาหุ้นที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ สำหรับแต่ละคน อาจจะเป็นเรื่องยาก คุณจึงต้องยอมตัดคุณสมบัติบางประการออกไปบ้าง เช่น


- สำหรับคนที่มีเวลาซื้อขายหุ้น อาจจะเลือกหุ้นที่ราคาแกว่งตัวมาก โดยที่หุ้นนั้นอาจจะจ่ายปันผลไม่ดีนัก เพื่อที่จะสร้างจำนวนหุ้นให้เพิ่มในอัตราที่มากพอ เมื่อได้หุ้นมากพอแล้วจึงเปลี่ยนตัวไปยังหุ้นที่หมายตาที่จ่ายเงินปันผลที่ดี อย่างพวกหุ้น Warrant ต่าง ๆ ต้องมีแผนตั้งแต่เริ่มแรกในการเล่นWarrant ตัวนั้นๆ เช่นต้องการดึงกระแสเงินสดแฝงออกจาก Warrant ให้เร็วและเน้นสร้างกระแสเงินสดแฝง ไม่ต้องการเพิ่มหุ้นแต่อย่างใด หรือเล่น Warrant ต้องการเพิ่มหุ้น และเก็บกระแสเงินสดแฝงตามสัดส่วนที่ได้ เอาไว้แปลงร่างจากหุ้น Warrant เป็นหุ้นตัวแม่ ตัวอย่างเช่น CPF-W2 ต้องการแปลงเป็น CPF หรือ ZMICO-W3 ต้องการแปลงเป็น ZMICO หรือ STEC-W2 ต้องการแปลงเป็น STEC แต่มีข้อแม้อีกอย่างนึ่งว่า ตัว Warrant นั้นต้องมีอายุอย่างน้อย 2 ปีก่อนหมดอายุ แต่ถ้าได้มากกว่า 2 ปี ยิ่งดีซึ่งจะทำให้เราได้สร้างกระแสเงินสดแฝงได้เป็นจำนวนมากตามอายุที่ยาวนานของ Warrant ตัวนั้น ๆ คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนหุ้น Warrant ต้องมีเวลาเอาใจใส่พอร์ตอย่างมาก
- สำหรับคนที่ไม่มีเวลาซื้อขายหุ้น ถ้าเลือกหุ้นที่มีการแกว่งตัวมากอาจจะกระตุกหัวใจ แบบนี้ควรเลือกหุ้นพื้นฐานดี จ่ายปันผลสม่ำเสมอ ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมาก คุณเพียงแค่ใช้เวลาดูแลเพียงวันละครึ่งชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว 

5. ถ้าใครมีประสบการณ์กับหุ้น Finance ตอนที่ปิดบริษัท 56 แห่ง ก็ควรหลีกเลี่ยงหุ้นกลุ่ม Finance แต่ก็ยังสามารถลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ได้ แต่ต้องมีกฎทางออกเตรียมพร้อมไว้เสมอ 

6. เมื่อใดควรไล่หุ้นตัวนั้นออกจากพอร์ต มี 2 กรณี 

6.1 หุ้นนั้นไม่มีการเคลื่อนไหวเลย 
6.2 หุ้นที่มีราคาไหลลงมามากกว่า 50% จากราคาที่ซื้อมาสูงสุด ต้องเอาออกจากพอร์ต แล้วจดราคาเอาไว้เมื่อไร หุ้นตัวนี้กลับตัวเป็นขาขึ้นชัดเจนค่อยเข้าไปลงทุนใหม่ แต่ยกเว้นว่า หุ้นตัวนั้นคืนทุนให้เรียบร้อยแล้ว ก็เก็บไว้สร้างกระแสเงินสดแฝงต่อไปเรื่อย ๆ 

7. หุ้นเป็นเพียงหนึ่งในยานพาหนะสำหรับการลงทุน (Investment Vehicles) ซึ่งนำไปสู่อิสรภาพทางการเงิน ดังนั้นไม่ควรยึดติดที่ตัวหุ้นใด ๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นได้ตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้ เพราะการยึดติดตัวหุ้นนั้นคือความทุกข์อย่างหนึ่ง จงปล่อยวางไม่อย่างนั้นท่านจะสูญเสียทุกอย่าง แต่ให้ยึดแนวทาง DSM แทนการยึดติดที่ตัวหุ้นแทน 
เริ่มต้นด้วยจำนวนหุ้นเท่าใด

จำนวนหุ้นที่เหมาะสมสำหรับวิธี DSM คือ 10,000 หุ้น ดังนั้นถ้าหุ้นที่คุณหมายตาไว้มีราคาหุ้นละ 100 บาท คุณจะต้องมีเงินลงทุน 1 ล้านบาท การเลือกหุ้นในระดับราคาที่เหมาะสมจะทำให้การซื้อขายหุ้นตามแผนการลงทุนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าคุณรักและอยากลงทุนในหุ้นราคา 100 บาทจริงๆ มี 2 วิธี

1. หาเงินล้านจากการทำงานมาลงทุน
2. เริ่มจากหุ้นตัวละ 10 บาท ใช้เงินลงทุน 1 แสน ลงทุนด้วยวิธี DSM อย่างมีวินัย ไม่เกิน 7 ปี คุณก็จะก้าวไปลงทุนในหุ้นระดับราคา 100 บาท ได้อย่างสง่าผ่าเผย (อัตราเฉลี่ย3%ต่อเดือน)

No comments:

Post a Comment