Sunday, May 25, 2014
5. ฉันเป็นนักลงทุนประเภทไหน
บรรดาผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในตลาดหลักทรัพย์แบ่งได้ 2 ประเภท
1. นักลงทุน
2. นักเก็งกำไร
ลองถามตัวเองก่อนว่า ฉันเป็นนักลงทุนหรือนักเก็งกำไร
ตลาดทุกชนิดบนโลกต้องมีคนทั้ง 2 ประเภท ถ้ามีแต่นักลงทุน ราคาหุ้นก็จะอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับไปไหน ถ้ามีแต่นักลงทุนที่ลงทุนเพื่อรับเงินปันผล ข่าวที่เราได้ยินอาจจะบอกว่า วันนี้ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลง 0.5 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1 ล้านบาท ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติใดๆ ถ้าผมหรือคุณจะเป็นนักเก็งกำไร แต่ลงทุนวิธีDSM เน้นให้เป็นนักลงทุนที่แท้จริง
ข้อแตกต่างระหว่างนักลงทุนกับนักเก็งกำไร
นักเก็งกำไร : ต้องการกำไรเป็นเงินสดในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 1 นาที, 1 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 สัปดาห์, 1 เดือน ขึ้นอยู่กับความอดทนของนักเก็งกำไรหรือนักพนัน
นักลงทุน : ต้องการรายได้จากกระแสเงินสดแฝงจากหุ้นและเงินปันผล
วิธีดูแบบง่ายสุดคือ
ถ้าคุณซื้อหุ้นเพราะหวังว่า ราคาหุ้นจะขึ้นและขายเพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง คุณเป็นนักเก็งกำไร
ถ้าคุณซื้อหุ้นแล้วรอรับเงินปันผล พร้อมกับได้กระแสเงินสดแฝงนั้นแสดงว่าคุณเป็นนักลงทุน
นักลงทุนหรือนักเก็งกำไร ใครเหมาะที่จะใช้วิธี DSM
ถ้าคุณหวั่นไหวกับราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ใครๆ ก็เป็นกัน แต่สำหรับValue Investor (VI) แล้ว เมื่อลงทุนหุ้นใดไปแล้ว จะไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะมั่นใจว่าบริษัทนั้นๆ มีแนวโน้มที่จะดำเนินงานต่อไปได้ไม่ดี VI จึงจะเปลี่ยนไปลงทุนในบริษัทอื่น แต่ถ้าราคาหุ้นตกลงมามากเท่าใด ตราบใดที่บริษัทนั้นยังมีผลประกอบการที่ดี VI ก็ยังคงลงทุนต่อไป และอาจจะซื้อเพิ่มอีกด้วย วิธี DSM จึงเหมาะกับนักลงทุนแบบ VI ที่ใช้เงินลงทุนก้อนเดิมที่มีอยู่มาเพิ่มจำนวนหุ้น VI หลายๆ คนที่ผมรู้จักก็ไม่อยากใช้ DSM เพราะไม่ถนัด ส่วนนักเก็งกำไรส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิธี DSM ช้า ไม่ทันใจ แถมได้กำไรน้อยอีกด้วย
ดังนั้น DSM จึงเป็นส่วนผสมระหว่างนักลงทุนที่เป็น VI ในสายเลือด แต่เพิ่มทักษะในการซื้อขายหุ้นแบบนักเก็งกำไรเข้าไป เพื่อเพิ่มจำนวนหุ้นให้มากขึ้น โดยใช้การทำงานเพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน ใครที่คิดจะใช้วิธี DSM เพียงเพราะหวังว่าจะช่วยทำให้เงินที่หายไปจากการซื้อขายหุ้นได้คืนมาล่ะก็ ลองคิดดูอีกครั้งนะว่าคุณมีจิตวิญญาณของนักลงทุนแบบ VI หรือไม่ เพราะถ้าคุณเลิกกลางคัน คุณจะสูญเสียมากกว่าการเก็งกำไรก็เป็นได้ และที่สำคัญวิธี DSM นี้ใช้เวลานานอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะคุ้มต้นทุนตอนเริ่มต้น
Labels:
DSM
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment