Pages

Sunday, May 25, 2014

15. สิ่งที่ควรคิดเมื่อรักจะเป็น DSMers


นักลงทุนหุ้นวิธี DSM จะเรียกตัวเองว่าเป็น DSMers 

1. DSMers ต้องมีเป้าหมายชีวิต อย่างน้อยที่สุด เราควรจะรู้ว่า ความฝันของเราคืออะไร แล้วมันเกี่ยวข้องกับการลงทุนแบบไหน อย่างไร ตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ ๆเข้าไว้ หาความสัมพันธ์ระหว่างความฝันกับการลงทุนให้เจอ แล้วพยายามไปให้ถึง

2. ศึกษาวิธี DSM ให้ถ่องแท้ แล้วค่อยๆทดลองปรับใช้จนลงตัว แล้วกำหนดมันเป็นแผนการอันนำไปสู่เป้าหมายชีวิตที่กำหนดไว้ หรือความฝันที่ตั้งใจ DSM เป็นเพียงวิธีการหนึ่งของการลงทุน การลงทุนที่แท้จริงคือแผนการที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายชีวิตอย่างเป็นรูปธรรมนั่นเอง

3. ใช้เงินทำงานให้เรา ไม่ใช่ใช้ตัวเราทำงานเพื่อเงิน ในDSM ตัวเงินไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจแต่เรามองรายได้ที่เกิดขึ้น มองจำนวนหุ้นเพิ่มมากขึ้น ควรมีหักค่าบริหารพอร์ตออกมาทุกระยะเป็นค่าใช้จ่ายด้วยเพื่อเป็นกำลังใจในการลงทุน กำไรไม่ใช่สิ่งที่เราสนใจเลย เราต้องการหารายได้จากพอร์ตการลงทุนของเรา 

เงินค่าของมันเป็นเพียงสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้า ตัวมันเองผลิตตัวมันเองไม่ได้ สิ่งที่ผลิตเงินได้ คือ พอร์ตของเราต่างหาก กระแสเงินสดแฝงที่เกิดขึ้น ควรนำมาขยายพอร์ตการลงทุนหลังจากหักค่าบริหารพอร์ตแล้ว ใช้เงินซื้อหลักทรัพย์ที่ดี แล้ววันหนึ่งมันก็จะกลายเป็นสินทรัพย์อย่างถาวรที่ผลิตเงินให้เราเปรียบเสมือนตู้ATM ที่กดเอาเงินจากตลาดหลักทรัพย์ไม่มีวันหมด ตราบนานเท่านานที่ตลาดหลักทรัพย์ยังไม่ปิดทำการอย่างถาวร หรือพังทลายไปเสียก่อน

14. หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน


นักลงทุนหุ้นวิธีDSM เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ...การเล่นหุ้นทั้งขาลงและขาขึ้น...หุ้นขึ้นได้เงิน หุ้นลงได้หุ้น... เป็นคำกล่าวที่เสี่ยงอย่างมาก ๆ ที่จริงแล้วต้องเป็น “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” 

เป็นอย่างไร ทำไมต้องพูดว่า “หุ้นขึ้นได้หุ้น หุ้นลงได้เงิน” เพราะเปรียบเทียบการลงทุนในหุ้น เสมือนทำกิจการให้เช่าหุ้น ดังนั้นหลักการคิดคือ กิจการที่เราทำอยู่กำลังดี กำลังเติบโต เราต้องเพิ่มการลงทุน หรือ ขยายกิจการออกไป แต่ถ้า เมื่อไรที่กิจการกำลังก้ำกึ่งระหว่างจะดีหรือไม่ดีไม่ควรเพิ่มการลงทุนหรือขยายกิจการเป็นอันขาด 

ต้องแยกคำ “ซื้อหุ้นคืน” กับ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”(เงินจากกระแสเงินสดแฝง) เมื่อเราทำตามแผนการที่วางไว้ ของการลงทุนด้วยวิธี DSM เมื่อหุ้นเป็นขาลงเริ่มแดง ขายออกทุก 2 ช่อง ช่องละ10% ไปเรื่อย ๆ จะจนกว่าหุ้นเริ่มขึ้นจะซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดมา 4 ช่อง ค่อยเข้าซื้ออันนี้หมายถึงการ “ซื้อหุ้นคืน” แต่เมื่อไรที่จะซื้อหุ้นเพิ่ม คือการเอาเงินจากกระแสเงินสดแฝงมาซื้อหุ้นเพิ่มเติม แต่อย่าลืมนะ ต้องซื้อหุ้นตัวที่เหลือน้อย หมายความว่าหุ้นตัวนี้ขายดี หรือขึ้นมามาก เปรียบเทียบได้กับเป็นกิจการที่ดี กำลังเจริญเติบโต ต้องมีการขยายงาน ถึงจะเริ่มมีการ “ซื้อหุ้นเพิ่ม”จากเงินกระแสเงินสดแฝง ถ้าให้ดีการซื้อหุ้นเพิ่มต้องซื้อหุ้นอย่างน้อย 1,000 หุ้น หรือ อย่างน้อย200,000 บาท ซึ่งซื้อแล้วสามารถทำงานได้ทันทีจากหุ้นที่ซื้อเพิ่มขึ้นมา 
ถ้านักลงทุนต้องการซื้อหุ้นเพิ่มโดยที่ยังไม่ได้เหลือหุ้น 10-20% จากของเดิมตัวนั้นๆ เพราะคิดว่า เป็นหุ้นที่ดี กลัวจะเสียโอกาสในการเพิ่มหุ้นกลับดังนั้นแล้วเมื่อไร ถึงจะ “ซื้อหุ้นเพิ่ม” ที่ใช้เงินจากกระแสเงินสดแฝงซื้อ มาถึงตอนนี้ทุกท่าน ต้องสร้างหลักการในการซื้อหุ้นเพิ่มอย่างไรดี 

13. ช่องว่างและการแปลงร่างคืออะไร

การแปลงร่าง จะแปลงไปเป็นหุ้นกลุ่มใดตัวใดก็ได้ ขอเพียงให้มีราคาต่ำกว่าและอยู่ในช่อง Spread หุ้นเดียวกัน และเงินที่เหลือจากการแปลงร่าง ให้ถือว่าเป็นกระแสเงินสดแฝงแต่มันเป็นกระแสเงินสดแฝงเทียม ซึ่งไม่ควรแปลงร่างมากเกินไปโดยไม่จำเป็น 

การแปลงร่างใช้กับหุ้นขาขึ้นเท่านั้น ถ้าหุ้นขาลงจะไม่แปลงร่าง(ยกเว้นกรณีที่ต้องการเปลี่ยนตัวเพราะต้องการไล่หุ้นตัวเดิมออกจากพอร์ต) ปกติแล้วจะใช้การแปลงร่างเมื่อ หุ้นตัวนั้นเหลือในมือแค่ 10-20% 

การแปลงร่างมี 2 แบบคือ แปลงร่างเป็นตัวมันเอง (ที่เหลือน้อย) กับ แปลงร่างไปเป็นหุ้นตัวอื่นๆ และหุ้นตัวอื่นๆ แปลงร่างมาเป็นตัวมัน นั่นคือการแปลงร่างอย่างสมดุลซึ่งกันและกัน 

การแปลงร่างจะไม่ใช่การเปลี่ยนตัวหุ้น แต่การแปลงร่างเป็นเหมือนการขยายการลงทุนในจังหวะที่ต้องขยาย นั่นคือ เมื่อแปลงจากหุ้น A ไปเป็นหุ้น B แล้ว เราต้องดูแลทั้ง Aและ B เราจะไม่ทิ้ง เมื่อใดที่มีจังหวะ เก็บหุ้น A คืนได้ ก็ควรเก็บกลับคืนมามันจะทำให้พอร์ตของเราค่อยๆ ขยายตัวอย่างเหมาะสม ไม่แนะนำให้แปลงร่างบ่อยเกินไป ทุกครั้งในการแปลงร่างต้องมีเหตุมีผลรองรับเสมอ และห้ามทำตามใจ อย่าเห็นกันกระแสเงินสดแฝงเทียมเพียงอย่างเดียว 

12. หลักการซื้อคืน 3 แบบ


หลักการซื้อคืนดังนี้ 3 แบบ ดังต่อไปนี้ 

1. ซื้อคืนเมื่อราคาต่ำกว่าที่ขาย ประมาณ 5 ช่อง
2. ซื้อคืนเมื่อซื้อกลับมาได้รวดเดียว 3 ราคาที่ขายไป
3. ซื้อคืนเมื่อหุ้นขึ้นจากจุดต่ำสุดขึ้นมา 4 ช่อง ค่อยเข้าซื้อ 

สมมุติว่าคุณซื้อหุ้นราคา 10.00 บาท จำนวน 10,000 หุ้น ทีละ 10% เท่ากับ 1,000 หุ้น 

กรณีที่ 1. หมายถึงว่าได้ขายหุ้นไปหุ้นไปที่ราคา 9.90 บาท และสามารถรับหุ้นกลับได้ที่ 9.65 บาท ให้เคาะซื้อด้าน offer 

กรณีที่ 2. หมายถึงว่าได้ขายหุ้นไปตามแผนที่วางไว้ ขาย ทุก 2 ช่อง รับหุ้นกับคืนทุก 3 ช่อง เช่น ขายไปที่ 9.90, 9.80, 9.70, 9.60, 9.50 บาทแล้วราคาหุ้นมานิ่งที่ 9.55 บาท ซึ่งสามารถรับกลับได้ที่ 9.90, 9.80, 9.70 ซึ่งสามารถซื้อกลับได้ 3 ไม้ที่ขายไป 

11. ระบบการซื้อ - ขายหุ้น DSM


ระบบการซื้อ - ขายที่ดี คือส่วนสำคัญของ DSM 

เมื่อกระโจนเข้าสู่สมรภูมิหุ้น บ่อยครั้งที่อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้บ่อยๆ หลายๆ ครั้งที่เรามักไม่กล้าขายหุ้นเมื่อหุ้นลง จนหุ้นลงมาก ก็ยิ่งตัดใจขายลำบากยิ่งขึ้น วิธี DSM ช่วยสร้างระบบป้องกันตัวไว้อย่างแยบยล การตัดขายเพียง 10% นอกจากจะช่วยสร้างกระแสเงินสดแฝงแล้ว ยังเหมือนกับการประกันเพื่อลดความเสี่ยงของหุ้นและยังมีหุ้นที่เหลืออีก 90% ที่เราถือไว้อีกด้วย ซึ่งต้องปฏิบัติไปตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้และอย่าลังเล เมื่อถึงเวลาที่ต้องขาย ถึงเวลาซื้อก็ต้องซื้อ เรื่องง่าย ๆ แค่นี้จริง ๆ 

ถึงต้องเน้นว่าต้องมีการวางแผนการก่อนเทรดหุ้น ว่าถ้าหุ้นลงจะทำอย่างไร ถ้าหุ้นขึ้นจะทำอย่างไร เพื่อที่จะได้จำกัดและลดอารมณ์ร่วมตามอารมณ์ตลาดหุ้น แล้วจะประสบความสำเร็จการลงทุนตามแนวทางนี้ได้ 

การลงทุนควรจะเป็นไปแบบอัตโนมัติ คือไม่ต้องใช้ความคิดเลย มันจะเป็นไปตามระบบ ตามแผน ตาม Step ของมัน ถ้าสร้างแผน สร้างระบบ มันจะทำหน้าที่แทนเรา ตัดสินใจแทนเราและแทนการใช้อารมณ์ของเรา 

ให้จำไว้ว่า ลงทุนด้วยวิธีDSM ไม่มีทุนเดิม ซื้อมาแล้วก็ให้ลบราคาซื้อออกไป และราคาขายขึ้นอยู่กับราคาในแต่ละวัน ในแต่ละเวลา ส่วนราคาซื้อคืน คือราคาที่ซื้อแล้วได้กระแสเงินสดแฝงจากราคาที่ขายไป ซึ่งเป็นไปตามแผนการที่วางเอาไว้ว่าขายกี่ช่อง รับคืนกี่ช่องของนักลงทุนแต่ละท่านนั้นเอง

10. Warren Buffett ลงทุนวิธี DSM ด้วยหรือไม่


“My favorite time frame for holding a stock is forever” หมายถึง“เวลาที่ผมชอบที่สุดคือเวลาที่ผมได้ถือหุ้นไว้ตลอดไป” คำประโยคนี้คือหัวใจที่ทำให้ Warren Buffett ทำกำไรจากหุ้นได้มากที่สุด นั่นคือ Warren Buffett คิดและลงทุนในแนวทางของคนรีดนมวัว และจะเลือกหุ้นที่มีอนาคตดี ชนิดที่เรียกว่า ต่อให้เขาตายไปแล้วบริษัทนั้นก็ยังคงอยู่ต่อไป เช่น โค้ก ยิลเล๊ต และกอดหุ้นเหล่านั้นไว้ตลอดไป ซึ่งเป็นแนวคิดเช่นเดียวกับ DSM ถึงแม้ว่าวิธีการจะแตกต่างกันแต่จุดมุ่งหมายเป็นไปตามแนวทางเดียวกันและที่สำคัญวิธีDSM น่าจะประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าวิธีการของ Warren Buffett ที่ทำไว้ได้หรือไม่ คงต้องรอให้ได้รับการพิสูจน์กันต่อไปในอนาคตเหมือนคำกล่าวที่ว่า “ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน” ดังนั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี เป็นเครื่องพิสูจน์วิธีDSM ทำให้มีคำกล่าวโดยเฉพาะว่า“My favorite time frame for trading on DSM is forever” สำหรับชาวDSMer ทุกท่าน

จะใช้ DSM ให้ประสบความสำเร็จ ต้องลืมเรื่องเวลา ต้องลืมเรื่องกำไรขาดทุน นักเล่นหุ้นที่มีราคาหุ้นติดสูงอยู่ ลองถามตัวเองสักนิดว่า กังวลใจเพราะอะไร เพราะราคาหรือเวลา ถ้าซื้อหุ้นแล้วรีบร้อนอยากขาย ขายถูกขายแพงก็เป็นทุกข์ ดังนั้นถ้าตั้งใจจะลงทุนตามแนวทาง DSM แล้วห้ามเลิกกลางคันเป็นอันขาด และต้องลงทุนตลอดชีวิตหรือว่าลงทุนระยะยาว ๆ มาก ต้องเลือกหุ้นที่อยู่กับเราไปจนวันตายเมื่อดังที่ Warren Buffett ได้ทำการเลือกหุ้นแล้วอยู่กับหุ้นตัวไหนตลอดชีวิต

9. DSM วัวเนื้อหรือวัวนม


เปรียบเทียบแนวคิดของ DSM กับการขุนวัวเนื้อและรีดนมวัว 

DSM ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ทำแล้วจะรวยทันที แต่เป็นกระบวนการที่ทำให้คุณไปถึงอิสรภาพทางการเงินในระยะเวลาที่คุณกำหนดได้ โดยในระหว่างเดินทางในเส้นทางนี้ ร่างกายและจิตใจของคุณจะสดชื่นเบิกบาน เปรียบเสมือนมีอิสรภาพทางเวลา และ จิตใจ ไปพร้อมกับการมีอิสรภาพทางการเงิน 

การซื้อขายหุ้นแบบเก็งกำไร ก็เหมือนการขุนวัวเนื้อให้อ้วนแล้วก็จับไปชำแหละ(ฆ่า) ส่วนการเก็บหุ้นปันผลไว้ก็เหมือนกับการเลี้ยงวัวนมเพื่อรีดนมวัว 

8. กลยุทธ์เมื่อหุ้นลง


ซื้อหุ้นแล้ว ไม่มีใครรับประกันได้ว่าราคาหุ้นจะขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีกลยุทธ์เพื่อรับมือในเวลาหุ้นลง

สมมุติว่าคุณซื้อหุ้นราคา 10.00 บาท จำนวน 10,000 หุ้น

บนหน้าจอจะเป็นแบบนี้

Vol.           Bid     Offer    Vol. 
100,000    9.95   10.00    50,000

จำไว้ว่า ขายที่ Bid ซื้อที่ Offer อย่าไปเสียเวลาต่อรองราคาเหมือนเดินเป็นอันขาด
วิธีคือ ถ้าราคาหุ้นต่ำกว่าที่ซื้อ 2 ช่อง ให้ขาย 10% (คงพอจะได้คำตอบแล้วนะว่า ทำไมขายครั้งแรกต้อง 2 ช่อง เพราะจะได้รู้ว่าหุ้นลงจริง ไม่ได้ลงหลอกๆ จะได้ไม่เสียหุ้นง่ายเกินไป) และอย่ากลัวการขายเมื่อหุ้นลง (แดง) อย่ากลัวว่าจะซื้อหุ้นคืนไม่ได้เพราะว่าอย่างไรก็สามารถซื้อหุ้นคืนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ด้วยแผนการลงทุนที่ทำเอาไว้ 

7. เริ่มต้นลงทุนวิธี DSM


เมื่อเลือกหุ้นที่จะลงทุนในแบบ DSM ได้แล้ว คราวนี้ก็มาถึงเวลาเข้าซื้อหุ้น 

กฎการลงทุนหุ้นวิธี DSM 

1. ซื้อให้ถูกกว่าขาย
2. เวลาไม่จำกัดในการซื้อคืน (มิติของเวลาเป็นInfinity) 

ตอนเริ่มต้นถ้าสามารถซื้อหุ้นได้ราคาที่ต่ำ แล้วหุ้นขึ้นยอมมีกำลังใจในการลงทุนหุ้นDSMได้มาก แล้วจะทำอย่างไร โดยการเขียวซื้อ แดงขาย หรือ กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง (DenSri Indicator=DSI) ซึ่งวิธีง่ายๆ แบบนี้เมื่อซื้อหุ้นแล้วหุ้นขึ้น (กอดหุ้นวิ่ง) แต่ถ้าหุ้นลงก็ทำตามวิธี DSM ที่มีวิธีรับมือกับขาลง (ทิ้งหุ้นแดง) ดังนั้นการเข้าซื้อในจังหวะที่เหมาะสมก็มีความสำคัญมากแต่ก็ไม่ได้จำเป็นต้องซื้อได้ต่ำที่สุดของราคาเช่นกัน (เพราะไม่มีใครซื้อได้จุดต่ำสุด และขายได้จุดสูงสุดของราคาหุ้นได้)
จะรู้ได้อย่างไรว่า เวลาไหนควรซื้อ

6. การเลือกหุ้นเพื่อลงทุนวิธี DSM


คุณสมบัติของหุ้นที่จะเลือกลงทุนด้วยวิธี DSM

1. ต้องเป็นหุ้นที่จ่ายเงินปันผล โดยดูจากประวัติย้อนหลังของบริษัทหลาย ๆ ปี 

2. ต้องเป็นหุ้นที่มีคนนิยม และมีจำนวนหุ้นซื้อขายในตลาดมากพอสมควร เพราะเราจะสร้างหุ้นเพิ่มจากส่วนต่างของราคา จากการแกว่งตัวของราคาจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นตัวนั้นเป็นที่นิยม ให้ดูมูลค่าการซื้อขายมาก แสดงว่าหุ้นตัวนั้นได้รับความนิยมมาก

3. ต้องเป็นหุ้นแก่นหลักของเศรษฐกิจของประเทศ ประเภทว่าถ้าหุ้นตัวนี้แย่หรือล้มหายจากตลาด หุ้นตัวอื่นๆก็คงโดนฝังหรือออกจากตลาดไปก่อนหน้านี้แล้ว

4. ต้องเป็นบริษัทที่คุณอยากร่วมเป็นเจ้าของกิจการ

การที่จะหาหุ้นที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 4 ประการ สำหรับแต่ละคน อาจจะเป็นเรื่องยาก คุณจึงต้องยอมตัดคุณสมบัติบางประการออกไปบ้าง เช่น

5. ฉันเป็นนักลงทุนประเภทไหน


บรรดาผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในตลาดหลักทรัพย์แบ่งได้ 2 ประเภท

1. นักลงทุน
2. นักเก็งกำไร 

ลองถามตัวเองก่อนว่า ฉันเป็นนักลงทุนหรือนักเก็งกำไร

ตลาดทุกชนิดบนโลกต้องมีคนทั้ง 2 ประเภท ถ้ามีแต่นักลงทุน ราคาหุ้นก็จะอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับไปไหน ถ้ามีแต่นักลงทุนที่ลงทุนเพื่อรับเงินปันผล ข่าวที่เราได้ยินอาจจะบอกว่า วันนี้ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลง 0.5 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 1 ล้านบาท ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติใดๆ ถ้าผมหรือคุณจะเป็นนักเก็งกำไร แต่ลงทุนวิธีDSM เน้นให้เป็นนักลงทุนที่แท้จริง

4. ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปี


ทำไมเวลาต้องอย่างน้อย 2 ปีด้วย 

เพราะจากผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นแบบ DSM จะได้กระแสเงินสดแฝงโดยเฉลี่ยขั้นต่ำอย่างน้อย 3% อาจได้มากกว่านี้ได้ เพราะบางเดือนได้มาก บางเดือนได้น้อยกว่านี้ 

จากสูตรคำนวณ 72 จำกันได้หรือเปล่า ถ้าเอาเลข 72 ตั้งหารด้วยจำนวน % ต่อปีผลลัพธ์จะได้เท่ากับจำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็น 2 เท่า 

ผลลัพธ์จำนวนปีที่ทำให้เงินต้นเป็นสองเท่า = 72/ (3%x12) = 2 ปี ดังนี้ภายในสองปีจะได้เงินเริ่มต้นเป็นทุกสองเท่า นั้นย่อมแสดงว่า เราสามารถทำให้ได้กระแสเงินสดแฝงเท่ากับจำนวนเงินต้น จึงเป็นที่มาว่าทำไมต้องอยู่กับหุ้นตัวนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี และที่สำคัญตลาดหุ้นเมืองไทยสามารถทำให้คืนเงินต้นได้เร็วยิ่งขึ้นเพราะเป็นตลาดที่มีความผันผวนสูง 
ดังนั้นการลงทุนไม่จำเป็นต้องรีบเร่งลงมือทำ ต้องค่อย ๆ ก้าวเดินแบบทารก และโอกาสของนักลงทุนมีอยู่ทุก ๆ วินาที ต้องมีความ “อดทนเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเป้าหมาย” ตามที่ได้วางแผนไว้

3. คุณสมบัติของนักลงทุนวิธี DSM

คุณสมบัติของนักลงทุนผู้ที่จะใช้วิธี DSM


1. ต้องเป็นนักลงทุนระยะยาว ระยะยาวในที่นี้คือ ตลอดชีวิต เงินลงทุนนี้จะต้องเป็นเงินเก็บจากเงินที่ต้องจ่ายให้ตัวเองอย่างน้อย 10% จากรายได้แต่ละครั้งและรวมส่วนเหลือจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้วและเก็บมาจากรายจ่ายฟุ่มเฟือย (เช่น สุรา เบียร์ บุหรี่ การพนัน เป็นต้น) และห้ามถอนเงินนี้มาใช้เป็นอันขาด เพราะถือว่าเป็นเงินลงทุนตลอดชีวิต ถ้าจะถอนได้ตามสัดส่วนกระแสเงินสดแฝงที่ได้รับเท่านั้น และสามารถให้ทรัพย์สินเป็นมรดกให้กับลูกหลานได้ หรือจะกล่าวว่าวิธี DSM ดีถึงชั่วลูกชั่วหลานก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
2. ต้องมีแนวคิดในการสร้างรายได้จากพอร์ต ไม่ใช่กำไรจากพอร์ต โดยที่ไม่สนใจ มูลค่าพอร์ตที่ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงและสิ่งแรกที่ต้องทำคือแยกให้ออกก่อนว่า ความแตกต่างระหว่างทำกำไรส่วนต่างกับการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ ถ้าแยกได้แล้วจะลงทุนตามแนวทางนี้ได้สำเร็จ
3. อิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายถึงความร่ำรวยมีเงินหลายร้อยล้านพันล้านบาท แต่หมายถึงการมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง มีอิสระที่จะทำสิ่งที่ต้องการทำ อิสรภาพทางการเงินไม่ได้วัดที่จำนวนเงินที่มี แต่วัดกันที่ "ใครมีเวลาเพื่อใช้ชีวิตในแบบที่ตนเองต้องการมากกว่ากัน"
4. ต้องมีวินัยในการลงทุน การตัดสินใจลงทุนด้วยวิธี DSM ถ้าหากเลิกกลางคัน จะเกิดความเสียหายมาก ถ้าเลิกก่อนเวลาอย่างน้อย 2 ปี
5. ต้องมีเป้าหมายในอนาคต เป้าหมายนี้ไม่ใช่เงินจำนวนเท่าใด แต่เป้าหมายที่ต้องตั้งคือ "ฉันจะต้องได้รับเงินปันผลเท่าใดจึงจะพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน" เพื่อจะมีอิสรภาพทางการเงินในแบบที่ต้องการ
6. จิตใจต้องหนักแน่น มั่นคง ไม่วอกแวกกับเสียงทักของนักเก็งกำไรหรือนักพนัน
7. ต้องมีเวลาดูแลพอร์ตอย่างเอาใจใส่
8. ต้องมีความสมัครใจด้วยตัวของนักลงทุนเอง ที่จะเลือกใช้แนวทางDSM นี้ซึ่งไม่มีใครสามารถบังคับได้และถ้าพร้อมแล้วหลังจากศึกษาแนวคิดเข้าใจดีแล้วให้เริ่มสร้าง Model Trade ของแต่ละนักลงทุนเองได้เลย พร้อมกับสร้างหลักการตัววัดผลของความสำเร็จของแต่ละนักลงทุนเองโดยนำเอาตัวอย่างเบื้องต้นจากบทความแห่งนี้เป็นต้นแบบ
9.การลงทุนหุ้นวิธีDSM เสี่ยงหรือไม่ แต่ความเสี่ยงไม่ได้อยู่ที่การลงทุน แต่อยู่ที่การขาดความเข้าใจในแนวคิดของการลงทุนด้วยวิธีนี้ต่างหาก ซึ่งถ้าไม่เข้าใจถือว่าเสี่ยงมากที่สุดแทนต่างหาก แต่อย่างไรไม่มีอะไรในชีวิตที่ไม่มีความเสี่ยง แต่การลงทุนควรเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำเสมอดังนั้นการลงทุนหุ้นวิธีDSM จึงเป็นคำตอบ

2. หัวใจและแนวคิดของ DSM


หัวใจของการลงทุนหุ้น DSM คือ แผนการลงทุนและระบบบัญชี และเป้าหมายสูงสุดของการลงทุนหุ้น DSM คือ การสะสมจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นและสร้างกระแสเงินสดแฝง 

ถ้าลงทุนหุ้นตามแผนการลงทุนที่วางเอาไว้อย่างเคร่งครัดแล้วไม่ต้องสนว่าตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น(Uptrend) หรือขาลง (Downtrend) ถ้าได้ถึงระดับนี้ ท่านได้เป็นถึงระดับ Master ซึ่งได้เลื่อนขึ้นมาจากระดับ Basic แล้วนั้นเอง และเมื่อเราทำตามแผนการดีเยี่ยมนี้แล้วจะค้นพบว่าวิธีDSM ตอนเล่นหุ้นขาขึ้นได้ดีกว่าตอนเล่นหุ้นขาลง (ต้องศึกษา สูตร 3-0-2-8 อย่างละเอียดแล้วจะได้คำตอบที่ต้องการ) 

1. จุดกำเนิด DSM

ที่มาขอคำว่า DSM มาจากอะไร 

DSM ย่อมาจาก DenSri Method มาจากชื่อนักลงทุนที่ชื่อเด่นศรี เป็นคนคิดค้นวิธีการเล่นหุ้นเพื่อการลงทุนด้วยวิธี Short Against Portเป็นคนแรกที่กล้าเปิดเผยวิธีการลงทุนเช่นนี้ และคนตั้งชื่อ DSM คือนักลงทุนชื่อ คลายเครียด (Endophine) เจ้าของ คลายเครียดเรโช อันโด่งดัง ในวันที่ 6 ส.ค.2547 ได้ตั้งชื่อ DSM=DenSri Method หรืออีกความหมายหนึ่งคือ DSM= Descending Sell Method และเพื่อเป็นเกียรติแก่คุณเด่นศรีที่ได้เปิดเผยเคล็ดลับสู่อิสรภาพทางการเงิน หลังจากนั้นชื่อ DSM ได้ถูกเรียกขานจากนักลงทุนเมื่อพูดถึงแนวทางการเล่นหุ้นเพื่อลงทุนสร้างหุ้นและกระแสเงินสดแฝง 

แล้ววันที่ 18 ส.ค. 2547 คุณ MacroArt ได้ เสนอชื่อคลับว่า คลับนักเล่นหุ้นเพื่ออิสรภาพทางการเงิน ซึ่งมีความหมายถึงหนังสือ Rich Dad Poor Dad และสุดท้ายก็ได้เปลี่ยนเป็นชื่อ “คลับเพื่ออิสรภาพทางการเงิน” วันที่ก่อตั้งคลับแห่งนี้วันที่ 25 ส.ค. 2547 เป็นวันแรกที่มีอยู่อย่างเป็นทางการของนักลงทุนด้วยวิธีDSM ด้วยประการนี้เอ่ย