คำว่า “กระแสเงินสดแฝง” เกิดจากการลดค่าของทรัพย์สิน หรือขายหุ้น แล้วซื้อหุ้นให้ถูกกว่าที่ขายไป จะได้กระแสเงินสดแฝงขึ้นมาก แล้วคำว่า “กระแสเงินสดแฝงในอนาคต” นั้นคือการที่จะได้กระแสเงินสดแฝง ที่จะเกิดขึ้นภายในอนาคต หรือ ขายหุ้นตอนปัจจุบัน แล้วจะซื้อหุ้นให้ถูกกว่าที่ขายไปในอนาคต จะทำให้เกิดกระแสเงินสดแฝงภายในอนาคต จึงเป็นที่ของคำว่า “กระแสเงินแฝงในอนาคต” และเป็นการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์จากเงินที่เป็นกองหลัง ให้มากที่สุดนั้นเอง
จากตัวอย่างของหุ้น A ที่เป็นกองหลัง 3 กอง ที่ขายไว้ 9.00, 8.90, 8.80 บาท กองละ 1,000 หุ้น และ หุ้นได้ขึ้นไปอยู่ที่ราคา 9.75 บาท ซึ่งเป็นจุด short หุ้นจุดใหม่ รอบใหม่เพราะมีราคาสูงกว่าราคากองหลังตัวแรก ไป 15 ช่อง ดังนั้นราคากองหลัง 3 กอง ที่ทิ้งไว้ระวังหลัง เราจะทำประโยชน์สูงสุดจากกองหลังเหล่านี้อย่างไรดี ซึ่งทำให้เกิดการคิดคำนวณเอากระแสเงินสดแฝงในอนาคตมาใช้ ถ้าตามแผนของเรา สมมุตรับคืนที่ 5 ช่อง หรือกี่ช่องก็แล้วแต่แผนของแต่ละท่านของนักลงทุน DSM
มาคำนวณกระแสเงินสดแฝงในอนาคตกันดีกว่า ขายที่ 9.00 รับกับที่ 8.75 บาท, ขายที่ 8.90 รับกับที่ 8.65 บาท, ขายที่ 8.80 รับกับที่ 8.55 บาท จะได้กระแสเงินสดแฝงในอนาคต ทั้งหมด คือ 0.25x1000x3=750 บาท(ยังไม่ได้หักค่าคอมมิชชั่น) นี้คือกระแสเงินสดแฝงในอนาคต จากกองหลังของที่เราทิ้งระวังหลังเอาไว้และสามารถนำจำนวนเงิน 750 บาท แบ่งเป็น 50% เอาไปลงทุนต่อ, 25% เอาไว้สำรอง, 25% เอาไปใช้จ่ายได้ตามสัดส่วน แล้วส่วนเงินของกองหลังที่เหลือก็เก็บเอาไว้รับหุ้นเมื่อถึงจุดที่ต้องซื้อคืน หรือเราสามารถกำหนดจุดซื้อคืน เป็น 10 , 20, หรือ 40 ช่อง ก็ย่อมได้ แล้ว ก็คำนวณกระแสเงินสดแฝงในอนาคตนำมาใช้เพื่อลงทุนต่อในปัจจุบันได้เลย และยังสามารถประยุกต์ได้อีกนิดคือทุก ๆ ครั้งที่เราขายหุ้นออกไป สามารถคำนวณกระแสเงินสดแฝงในอนาคตได้ทันที่ที่ขายหุ้นออกไปและนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีโดยที่ยังไม่ต้องรอรับซื้อหุ้นคืนกลับมา และไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะกองหลังเท่านั้น
แต่นักลงทุนวิธีDSM ที่เล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรี หลังจากขายกองหลังแล้ว สามารถนำไปซื้อหุ้นตัวที่กำลังเขียวอ่อนได้เลย ซึ่งการเล่นแบบนี้ไม่ต้องคำนวณหากระแสเงินสดในอนาคต ซึ่งการที่จะได้กระแสเงินสดในอนาคตนั้นต้องนักลงทุนวิธีDSM เล่นหุ้นแบบ BASIC และติดตามอ่านในการเล่นหุ้นแบบโน้ตดนตรีในตอนที่DSM (30) – DSM Music Theory คืออะไร
No comments:
Post a Comment